
ข้อควรรู้เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดได้ว่าเป็นภาษีอากรอีกประเภทหนึ่งที่ถูกบัญญัติเอาไว้ในประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นการจัดเก็บเงินได้ของกลุ่มนิติบุคคลจำพวกบริษัท ห้างร้าน ที่ได้มีการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรียกง่ายๆ ว่าเป็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ ผู้ที่ทำธุรกิจและมีการจดทะเบียนตามกฎหมายจะต้องมีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วยไม่ใช่นั้นอาจมีความผิดตามข้อกฎหมายในการประกอบธุรกิจได้ด้วยเช่นเดียวกัน ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องทราบ
ใครคือคนที่มีหน้าที่เสียภาษีนิติบุคคล
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคลถูกจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายในประเทศไทย – ประกอบไปด้วย บริษัท จำกัด, บริษัทมหาชน จำกัด, ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน, ห้างหุ้นจำกัด
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ – แม้ว่าจะเป็นบริษัทต่างชาติแต่หากได้ประกอบธุรกิจในประเทศไทย, ประกอบธุรกิจหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย, แม้ไม่ได้ประกอบธุรกิจในประเทศไทยแต่รับเงินบางอย่างในประเทศไทย, มีลูกจ้างทำการแทนในประเทศไทย จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย
- กิจการที่ดำเนินทางด้านการค้าและหวังผลกำไร – ประกอบไปด้วย รัฐบาลต่างประเทศ, องค์กรของรัฐบาลต่างประเทศ และนิติบุคคลที่มีการจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
- กิจการร่วมค้า หรือ Joint Venture – เป็นกิจการที่มีความร่วมมือกันระหว่าง 2 ฝ่ายขึ้นไปเพื่อแสวงหาผลกำไร ประกอบไปด้วย บริษัทและบริษัท, บริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล, ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล, บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา, บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับกลุ่มบุคคลที่ได้เป็นนิติบุคคล, บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและห้างหุ้นส่วนสามัญ, บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับนิติบุคคลอื่นๆ
- มูลนิธิหรืออาจจะเป็นสมาคมที่มีการสร้างรายได้จากการประกอบกิจการ – ทั้งนี้ไม่ได้เหมารวมที่รัฐบาลประกาศให้เป็นการกุศล
- นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติจากรัฐมนตรีและได้มีการประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา
ฐานภาษีสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคล
จะใช้หลักการคำนวณโดยการนำเงินได้ที่ใช้มาเป็นหลักฐานสำหรับการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนดขึ้น เงินที่จะเสียจะเป็นกำไรสุทธิที่ถูกคำนวณตามเงื่อนไขที่ได้มีการกำหนดเอาไว้ อย่างไรก็ดีเพื่อความเป็นธรรมและปิดกั้นช่องว่างสำหรับการจัดเก็บภาษีเงินได้ จึงได้มีการทำข้อบัญญัติการเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากเงินได้ที่มีความแตกต่างกัน คือ กำไรสุทธิ, ยอดรายได้ก่อนมีการหักรายจ่าย, เงินที่ได้จากในประเทศไทย และการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย